วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563

กลอนแปด

กลอนแปดคณะหนึ่ง จะมี  4 วรรค ทุกวรรคมีแปดคำ
วรรคแรก เรียกว่า วรรคสดับ
วรรคสอง เรียกว่า วรรครับ
วรรคสาม เรียกว่า วรรครอง
วรรคสี่ เรียกว่า วรรคส่ง
อ่านเป็นสามตอนในทุกวรรค สามคำ สองคำ และสามคำ ทั้งมีกำหนดสัมผัสด้วย
กลอนแปดนั้นไม่บังคับวรรณยุกต์ บังคับแต่รูปสระ
กลอนแปดสุภาพ
ส่วนกลอนแปดสุภาพนั้นเหมือนกลอนแปดทั่วไป แต่จะเพิ่มบังคับรูปวรรณยุกต์ไว้
จะลองเขียนร่างแผนผังดู
๐๐๐ ๐๐ ๐๐๐      ๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ                   ( วรรคสดับ – วรรครับ )
๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ     ๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ            ( วรรครอง – วรรคส่ง  )
๐๐๐ ๐๐ ๐๐๐          ๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ               ( วรรคสดับ – วรรครับ  )
๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ     ๐๐๐ ๐๐ ๐๐สุภาพ             ( วรรครอง – วรรคส่ง  )
แต่ทีนี้ไม่มีเครื่องมือให้ใช้ จึงขอยกภาพจากอินเตอร์เนตแล้วปรับเติมนิดหน่อย ดังนี้ค่ะ

คำประพันธ์ ที่ต่อท้ายว่า “สุภาพ” นับว่าเป็นคำประพันธ์ที่แสดงลักษณะเป็นไทยแท้ ด้วยมีข้อบังคับในเรื่อง รูปวรรณยุกต์
ในกลอนสุภาพนอกจากมีบังคับเสียงสระเป็นแบบแผนเช่นกลอนปกติแล้ว ยังบังคับรูปวรรณยุกต์เพิ่ม จึงมีข้อจำกัดทั้งรูปและเสียงวรรณยุกต์
ดังตัวอย่าง :-
             (วรรคสดับ)                                            (วรรครับ)
จะออกปากฝากรักก็ศักดิ์ต่ำ           กลัวจะซ้ำถมทับไม่นับถือ

           (วรรครอง)                                              (วรรคส่ง)
ถึงยามนอนร้อนฤทัยดังไฟฮือ      ชมแต่ชื่อก็ค่อยชื่นทุกคืนวัน

             (วรรคสดับ)                                            (วรรครับ)
เวลาหลับคลับคล้ายไม่วายเว้น     ได้พบเห็นชื่นใจแต่ในฝัน
(วรรคสรอง)                                            (วรรคส่ง)
ขอฝากปากฝากคำที่รำพัน           ให้ทราบขวัญนัยนาด้วยอาวรณ์

ตามธรรมเนียมแต่โบราณนั้นการแต่งกลอนต้องไม่เป็นระลอกทับ ระลอกฉลอง เพราะเป็นแบบที่บกพร่อง
  • ระลอกทับ หมายถึงการมีรูปวรรณยุกต์เอกหรือโทในคำสุดท้ายของวรรครับและวรรครอง
  • ระลอกฉลอง หมายถึงรูปวรรณยุกต์เอกหรือโทในคำสุดท้ายของวรรคส่ง
  • นั่นคือทั้ง วรรครับ วรรครอง และ วรรคส่ง นั้น, คำสุดท้าย ต้องไม่ลงด้วยเสียงวรรณยุกต์เอก หรือ โท
  • ในเรื่องเสียงวรรณยุกต์ที่บังคับ จะเน้นว่าเสียงที่ส่งสัมผัสสระถึงกันทั้งวรรครับ วรรครอง และวรรคส่ง จะต้องไม่ซ้ำเสียงวรรณยุกต์ด้วย ถ้าซ้ำถือว่าไม่เป็นรสกลอน1
การประพันธ์กลอนสุภาพนับเป็นการแสดงไหวพริบปฎิภาณและความแตกฉานในการใช้ภาษาไทยของผู้แต่งให้เด่นชัดยิ่งขึ้น
คำประพันธ์กลอนสุภาพนิยมเล่นกันมากตั้งแต่สมัยอยุธยา จวบจนถึงปัจจุบัน ในต้นรัตนโกสินทร์นั้นงานกลอนสุภาพเด่นชัดในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งเฟื่องฟูถึงขนาดมีการแข่งขันต่อกลอนสด กลอนกระทู้ ตลอดรัชสมัยมีผลงานออกมามากมาย เช่น กลอนโขน กลอนนิทาน กลอนละคร กลอนตำราวัดโพธิ์ เป็นต้น บทพระราชนิพนธ์เรื่อง เงาะป่า ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ ยังมีกวีท่านอื่นที่มีชื่อเสียง เช่น สุนทรภู่ เป็นต้น และในสมัยรัชกาลที่ ๖ ก็มีปราชญ์กวีทางกลอนสุภาพที่สำคัญหลายท่านเช่นกัน

ทีนี้ก็ลองแต่งดูตามความรู้ที่ได้ ดังนี้  :-

อันกลอนแปด สุภาพ ตามภาพวาด          อ่านสามตอน ระบุกราด ทุกวรรคหนาวรรคสดับ วรรคแรก ทิ้งฟัดมา …………คำที่สาม หรือห้า วรรครับครัน
คำสุดท้าย วรรครับ ส่งไปปราด ………..วรรครองฟาด คำที่แปด อย่าเหหัน
คำสามหรือ คำห้า วรรคส่งพลัน ……….คำท้ายดั้น วรรคส่ง ส่งต่อไป
อีกอย่าลืม เรื่องเสียง วรรณยุกต์              คำที่แปด กระตุก  สามวรรคไขรับ-รอง-ส่ง ห่อนรูป แม้เสียงใด ………..วรรณยุกต์ อย่าใส่ บังคับคำ
สามัญสูง สามวรรค เสียงไม่เหมือน          อย่าแชเชือน กลอนสุภาพ ภาพงามขำทั้งสัมผัส สระ อย่างประจำ ……………..เขาจักร่ำ ระบือ ชื่อกลอนดี
สัมผัสใน ควรคง ไว้บ้างเถิด                     เพิ่มไพเราะ ล้ำเลิศ เกิดศักดิ์ศรีการใช้คำ เลือกใช้ อย่างกวี ……………คำสูงต่ำ เหมาะที่ ไม่ปนเอย.


❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Facebook

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ค้นหาบล็อกนี้


About Me

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช "การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควร ใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการ ศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว"

เว็บพฤษศาสตร์โรงเรียน นภว.

เว็บพฤษศาสตร์โรงเรียน นภว.
โดยนายคำโพธิ์ ศรีสุพรรณ

Popular Posts